กิจกรรม

สร้างสรรค์สังคมไทย ด้วยการให้ที่ดี กับ IQ Brand

ทาง IQ Brand ได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมโครงการในพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช  กิจกรรมในครั้งนี้ เราได้ร่วมสมทบทุน
เข้าโครงการ " มูลนิธิชัยพัฒนา " เป็นจำนวนเงิน 100,021 บาท

คณะผู้บริหาร และพนักงานได้ เดินทางไปมูลนิธิชัยพัฒนา  วันศุกร์ ที่ 17 พฤศจิกายน 2560
ที่  ซ.อรุณอมรินทร์ 36 เขตบางพลัด กรุงเทพฯ   เพื่อนำเงินที่ได้จัดกิจกรรม 1 รีม 1 บาท
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช
และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้มีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้น...


  • ก่อนพายุฝนจะมา เราต้องพร้อม!
    1. วางแผนให้ดีก่อนออกไปข้างนอก

    ก่อนที่เราจะออกไปข้างนอก เราควรที่จะต้องมีการวางแผนให้ดีเสียก่อนโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เราควรที่จะฟังพยากรณ์อากาศเป็นประจำทุกวัน ซึ่งหากวันไหนที่มีพายุฝนรุนแรงก็ควรหลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่อันตราย หรือไม่ออกจากบ้านในเวลาที่กำลังจะเกิดพายุฝน

    นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตได้จากสถาพอากาศในขณะนั้นได้อีกด้วย เช่น สังเกตว่าฟ้ามืดไหม หรือมีลมแรงผิดปกติหรือไม่ เพราะนี้เป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าพายุฝนกำลังเคลื่อนเข้ามาแล้ว ฯลฯ
    2. ลองฟังเสียงฟ้า…

    เมื่อเราลองสังเกตจากสภาพอากาศแล้ว ให้ลองฟังเสียง คำนวณเสียงที่ได้ยิน และหากเห็นแสงฟ้าผ่า เสียงฟ้าร้องตามมาอีก 30 วินาทีให้หลัง ก็รีบหลบเข้ามาในที่ปลอดภัยในทันที เช่น หลบในอาคารหรือชายคาบ้านทันที (เราไม่ควรไปหลบใต้ต้นไม้โดยเด็ดขาด) เป็นต้น
    3. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

    เราไม่รู้ว่าในขณะที่ฝนกำลังตกอยู่นั้นจะเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอะไรขึ้นมาบ้าง เราควรที่จะเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม เช่น ในกรณีที่เกิดไฟดับ เราก็ต้องเตรียมไฟฉายหรือเทียนเอาไว้ให้พร้อม หรือแบตมือถือ เราก็เตรียมเอาไว้ให้พร้อมด้วย เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมา และควรตั้งเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ด้วย เป็นต้น

    วิธีการป้องกันตนเองขณะอยู่บ้าน
    1. นำสัตว์เลี้ยงเข้าบ้าน

    สำหรับใครที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้าน ก็ควรพาเหล่าสัตว์เลี้ยงของเราเข้าบ้านในทันที เพราะสัตว์เลี้ยงทุกชนิดไม่สามารถที่จะต้องป้องกันตนเองจากฟ้าผ่าได้ และที่สำคัญปลอกคอของสัตว์เลี้ยงก็ยังเป็นสื่อล่อฟ้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
    2. ปิดประตู-หน้าต่างให้ดี

    เมื่อเรานำเหล่าสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบ้านแล้ว เราก็ต้องปิดประตู-หน้าต่างบ้านให้เรียบร้อยด้วย เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากพายุฝน และนอกจากนี้เราก็ไม่ควรที่จะอยู่ใกล้ ๆ กับหน้าต่างด้วย
    3. ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า (โลหะ)

    ในขณะที่กำลังเกิดพายุฝนอยู่นั้น เราควรที่จะงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านหรืออุปกรณ์ที่ทำมาจากโลหะ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจจะวิ่งเข้าสู่ร่างกายของเราได้ เมื่อเกิดฟ้าผ่าลงมา เช่น โทรทัศน์ ฯลฯ ที่สำคัญในขณะที่เราอยู่ในบ้านไม่ควรที่จะยืนพิงผนังบ้าน เพราะโครงสร้างของบ้านส่วนใหญ่มีสื่อที่สามารถนำไฟฟ้าได้ ซึ่งมันจะเป็นอันตรายถ้าเราไปสัมผัสผนังในขณะที่มีพายุฝน
    4. ออกจากบ้าน เมื่อฝนหยุดแล้ว

    ในขณะที่กำลังมีพายุฝนนั้น เราควรอยู่ในบ้านตลอด ไม่ควรออกไปไหน เพราะมันเสี่ยงต่อการโดนฟ้าผ่าได้ แต่ถ้าเราจำเป็นที่จะต้องออกจากบ้านจริง ๆ ก็รอให้ฝนหยุดตกสนิทเสียก่อนประมาณ 30 นาที แล้วค่อยออกไปข้างนอก

    วิธีป้องกันตนเอง เมื่อยู่นอกบ้าน
    1. หลบเข้าตึกหรือชายคาทันที

    เมื่อเราอยู่ข้างนอกบ้านในขณะที่มีพายุฝน ให้เราหลบเข้าไปในอาคาร ตึก หรือชายคาทันที ไม่ควรที่จะชะล่าใจเพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดฟ้าผ่าลงมาตอนไหน และจะต้องเลี่ยงการหลบใต้ต้นไม้ บริเวณป้ายโฆษณา อาคารขนาดเล็ก ๆ เช่น ห้องน้ำสาธารณะ หรือสถานที่ที่มีเพียงแค่กันสาดเท่านั้น เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ไม่สามารถที่จะป้องกันฟ้าผ่าได้นั่นเอง ฯลฯ (เราอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้าปลอดภัยกว่าอาคารที่ไม่มีสายล่อฟ้า)
    2. ไม่ควรอยู่ใกล้สถานที่ที่มีน้ำ

    อยากที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า เมื่อฝนตกเราไม่ควรเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น สระว่ายน้ำ บ่อน้ำ ลำคลอง หรือทะเล ฯลฯ และหากใครที่กำลังเล่นน้ำอยู่ก็ควรที่จะต้องรีบขึ้นมาในทันทีด้วย เพราะเราไม่รู้ว่าการเกิดฝนตกในแต่ละครั้งจะทำให้เกิดน้ำท่วม หรืออันตรายอะไรบ้าง ควรที่จะขึ้นมาหลบในที่ปลอดภัย
    3. อย่าอยู่ในที่โล่งแจ้ง

    ให้เรารีบออกจากพื้นโล่งแจ้งหรือลานกว้างในทันที เช่น ลานจอดรถด้านนอกอาคาร สนามกอล์ฟ เพราะแรงของลมพายุฝนอาจจะพัดสิ่งของหรือต้นไม้มากระแทกเราได้ และอีกอย่างที่เราควรระวังก็คือ ไม่ควรใช้โทรศัพท์ในขณะมีพายุฝนด้วย เพราะมือถือเป็นสื่อล่อฟ้าอีกหนึ่งชนิดที่เราควรระวังเอาไว้ด้วย
    4. หลบในสถานที่ที่มีคนเยอะ

    เมื่อเราจะต้องหลบพายุฝนร่วมกับผู้อื่น ควรรักษาระยะห่างแต่ละคนไว้ประมาณ 15.2-30.5 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กระแสไฟวิ่งเข้าสู่ร่างกาย เมื่อคนรอบข้างมีคนโดนฟ้าผ่า
    5. หากมีฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียง

    เมื่อเราจะต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ฟ้าผ่าในระยะประชันชิด ให้นั่งยอง ๆ เท้าชิดกัน ก้มหน้าซุกระหว่างเข่า เอามือปิดหูหรือจับเข่าเอาไว้ ถึงแม้ว่าท่านี้จะช่วงป้องกันอุบัติเหตุไม่ได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะภายในร่างกายได้ (อย่านอนราบ เพื่อลดความเสี่ยงกรณีกระแสไฟฟ้าไหลมาตามพื้น)
    6. ฟ้าผ่า เมื่อเราอยู่ในรถ

    ให้เราจอดรถ อย่าสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ให้เรานั่งกอดอกหรือวางบนตักแทน ปิดหน้าต่างทุกบาน ที่สำคัญอย่าจอดรถใต้ต้นไม้ และอย่าใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์แฮนด์ฟรีทุกชนิด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการโดนฟ้าผ่า

    Cr.campus-star
  • paper
    วิธีการเลือกใช้กระดาษ



    เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่าในงานพิมพ์มีประเภทกระดาษมากมาย เช่นกระดาษ A4, B2, หรือ C3 ซึ่งเราจะมาอธิบายให้ทุกท่านเข้าใจก่อนเป็นอย่างแรกว่า กระดาษมาตรฐานที่กำหนดโดย ISO นั้น จะมีอัตราส่วนด้านยาวต่อด้านกว้างที่ 1 : 1.4142 ซึ่งอัตราส่วนนี้เมื่อนำกระดาษ 2 แผ่นมาต่อกันด้านข้างแล้ว จะทำให้เกิดกระดาษใหม่ที่ใหญ่ขึ้นในอัตรา 1 : 1.4142 เช่นเดิม และจะเป็นอัตราส่วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อนำมาต่อกัน ส่วนชื่อเรียกกระดาษที่เป็นตัวอักษรแล้วตามด้วยตัวเลขนั้นจะเป็นขนาดของกระดาษ โดยเลข 0 จะเป็นเลขที่ขนาดกระดาษใหญ่ที่สุด ส่วนเลข 1 ก็จะขนาดเล็กกว่าเลข 0 เป็นสองเท่า และเลข 2 ก็จะเล็กกว่าเลข 1 เป็นสองเท่าเช่นกัน ไล่เรียงไปเรื่อย จนถึงเลข 10 ที่เป็นขนาดเล็กสุดครับ ส่วนรหัสอักษร A B C นั้นก็จะเป็นขนาดเริ่มต้นของกระดาษที่ ISO กำหนดเป็นมาตรฐานไว้ ดังตารางด้านล่างนี้

    สำหรับกระดาษที่เรามักใช้งานในปัจจุบันจะเป็นกระดาษประเภท A แต่ก็มีบางงานที่จะเป็นแบบ B และ C กันไปอยู่บ้าง ทั้งนี้การจะเลือกขนาดกระดาษสำหรับงานพิมพ์ให้เหมาะสมนั้น ก่อนอื่นจะต้องดูเนื้อหาของ Artwork ตัวอักษร หรือตัวสารที่จะนำเสนอเป็นหลักว่ามีเนื้อหามากหรือน้อยเพียงใด จัดวางในกระดาษแล้วมีความสวยงาม ผู้อ่านสามารถมองเห็นได้สะดวกหรือไม่ รวมถึงงบประมาณที่มีอยู่ ซึ่งส่วนมากแล้วขนาดกระดาษยิ่งใหญ่ก็ยิ่งมีต้นทุนผลิตสูงขึ้นตามมานั่นเอง จากนั้นก็เลือกขนาดกระดาษให้มีความเหมาะสมกับงานพิมพ์ที่ต้องการ



  • ถึงแม้ว่าผู้ชายบางคนอาจจะคิดว่าการมีพุงกลมๆดูเป็นผู้ชายอบอุ่น หุ่นอาเสี่ย สาวๆคงจะกรี๊ด ก็เลยปล่อยให้ตัวเองมีพุงเล็กๆน้อย ๆแต่คุณรู้หรือไม่ว่าพุงอ้วนๆกลมๆของคุณจะนำพาสารพัดโรคมาสู่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ เพราะพุงเป็นแหล่งสะสมไขมันชนิดที่อันตราย ยิ่งมีพุงใหญ่ขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น จากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่าปัจจุบันผู้ชายไทย 1 ใน 3 และผู้หญิงไทยถึง 1 ใน 2 คนกำลังตกอยู่ในสภาวะโรคอ้วนลงพุง

    มาถึงตรงนี้แล้วลองก้มมองพุงแล้วสำรวจดูสิว่าเราเป็นกลุ่มเสี่ยงแล้วหรือยังโดยการทดสอบง่ายๆด้วยการวัดรอบเอว (ใช้หน่วยเซนติเมตร) ของคุณดู ถ้าเกิดตัวเลขที่ได้มากกว่า ส่วนสูงหาร 2 นั่นแสดงว่าคุณกำลังเข้าข่ายภาวะ “อ้วนลงพุง” ซะแล้ว และยิ่งถ้าแนวโน้มที่พุงจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆก็ยิ่งจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น 3 -5 เท่าเลยล่ะคะ

    แต่คุณก็ไม่ต้องกังวลใจไปเพราะใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ เพียงแค่คุณหันมารักแล้วใส่ใจสุขภาพตัวเองด้วยการ “ลดพุง ลดโรค” โดยการใช้หลักการง่ายๆ 3 อ.ที่คุณสามารถทำตามได้ไม่ยุ่งยาก มาดูกันดีกว่าคะ ว่ามีอ. อะไรบ้าง

    อ. อาหาร

    หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีรสหวาน มัน เค็ม
    หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยการทอดเพราะจะมีน้ำมันสะสมมาก ให้เน้นกินอาหารที่ได้จากการต้ม ย่าง นึ่งแทนจะดีกว่า
    เลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากๆ เช่น พวกน้ำอัดลม นมเปรี้ยว กาแฟ น้ำหวาน ชาเขียว
    ออกกำลังกาย

    การออกกำลังกายเป็นการช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่เรากินเข้าไปแล้วไปสะสมอยู่ตามรอบพุงได้ดีที่สุด ซึ่งการออกกำลังกายสามารถทำเองได้ง่ายๆที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องไปเข้าฟิตเนสแพงๆ ในแต่ละวันแค่คุณขยับร่างกายทำกิจกรรมเหล่านี้ก็เท่ากับคุณได้ออกกำลังกายแล้ว เช่น

    แกว่งแขน
    ลุกนั่ง
    เดินให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 10,000 ก้าว
    พยายามปั่นจักรยานยนต์หรือเดิน แทนการนั่งรถ
    อ. อารมณ์

    ต้องมีความตั้งใจและมุ่งมั่น จริงจัง อดทน พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้ ที่สำคัญเวลาที่รู้สึกเครียดต้องหาทางผ่อนคลายอย่าไปแก้ปัญหาด้วยการกิน เพราะจะยิ่งทำให้คุณเพิ่มไขมันรอบพุงเข้าไปอีกโดยไม่รู้ตัว

    เห็นไหมคะว่าการ “ลดพุง ลดโรค” ไม่ใช่เรื่องยากอยู่ที่ตัวคุณเองว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนแปลงตัวเองมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าคุณสามารถทำได้ตามที่เราแนะนำมาก็เท่ากับว่าช่วยลดพุงไปได้แล้วล่ะคะ